ภาพกิจกรรมของฉัน

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


               
       สรุปงานวิจัย

เรื่อง   ผลการจัดประสบการณ์การเรียนแบบร่วมมือด้วยหนังสืออิเล็กทรอกนิกส์ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวน สำหรับเด็กปฐมวัย

โดย วัชยา ปราบพยัคฆ์   ปี 2554
      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพ ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับคะแนนทดสอบก่อนเรียน และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนแบบร่วมมือด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวน สำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มตัวอย่าง
ในการวิจัยเป็นเด็กปฐมวัยชายและหญิง อายุ 3-4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง1 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 15 คน ได้มาโดยวิธีการจับสลากแบ่งกลุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวน สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการเรียนแบบร่วมมือ
 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวน สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 25 ข้อ
 3)แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวน สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการเรียนแบบร่วมมือสำหรับผู้เชี่ยวชาญ
 4)แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนแบบร่วมมือของนักเรียน โดยครูเป็นผู้ประเมิน
ผลการวิจัยพบว่า
 1)หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวน สำหรับเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.19/84.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
 2)ผลการจัดประสบการณ์การเรียนแบบร่วมมือ ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางสถิตคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวน สำหรับเด็กปฐมวัยสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 
3)การสังเกตพฤติกรรมการเรียนแบบร่วมมือด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวน สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนแบบร่วมมืออยู่ในเกณฑ์ดีมาก









สรุปกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 16
วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556
เนื้อหาสาระจากการเรียนการสอน

  • อาจารย์คุยเรื่องการจัดกิจกรรมกีฬาสีและงานปัจฉิมพี่ปี 5
  • การไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนที่หนองคายและที่ประเทศลาว
  • การกำหนดสอบปลายภาค
  • เขียนข้อความรู้ ทักษะและวิธีการสอนในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 15
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556

เนื้อหาสาระจากการเรียนการสอน 
อวัยวะภายนอกร่างกาย
วันที่ 1

  • เด็กๆ รู้จักอวัยวะภายนอกร่างกายของเรามีอะไรบ้างค่ะ
  • อวัยวะภายนอกของเด็กๆ มีอะไรบ้างค่ะ
  • อวัยวะนอกร่างกายมีทั้งหมดเท่าไหร่ ( กำหนดตัวเลขมากำกับ )
  • อวัยวะอะไรบ้างที่มีอันเดียว (การแยกกลุ่ม)
  • เปรียบเทียบอวัยวะที่มี 1 อันกับมากกว่า 1 อัน
วันที่ 2

  • ทบทวนเรื่องอวัยวะภายนอกว่ามีอะไรบ้าง
  • เด็กๆ ลองสังเกตหูของเพื่อนว่ามีลักษณะรูปร่างอย่างไร
  • ลองจับหูของเพื่อนดูว่ามีพื้นผิวอย่างไร
  • หูของเด็กๆ มีสีอะไรบ้างค่่ะ ( หูของเด็กๆ จะมีสีคล้ายกับสีผิวของเด็กๆ เช่น สีครีม สีน้ำตาลและสีเนื้อ )
  • อวัยวะที่เด็กๆ ดูในวันนี้มีอะไรที่เหมือนกัน
วันที่ 3

  • ทบทวนเรื่องหู จมูก ปาก มีอะไรที่เหมือนกัน
  • อะไรที่หูกับจมูกมีเหมือนกัน  ปากกับจมูก  หูกับปาก
  • หน้าที่ของอวัยวะ 
  • ไหนเด็กๆ บอกครูซิค่ะว่าหน้าที่ของอวัยวะมีอะไรบ้าง
  • อวัยวะต่างๆ ทำหน้าที่ที่แตกต่างกัน
วันที่ 4

  • ทบทวนเรื่องหน้าที่ของอวัยวะ
  • เล่านิทานประโยชน์ของอวัยวะ
  • มือมีประโยชน์ที่ทำให้เราหยิบของจากที่หนึ่งมาอีกที่หนึ่ง
  • จมูกดมกลิ่นโดยสามารถแยกแยะได้ว่ามีกลิ่นหอมหรือกลิ่นเหม็น
วันที่ 5

  • ทบทวนเรื่องประโยชน์ของอวัยวะ
  • การดูแลรักษาอวัยวะภายนอกของเรามีอะไรบ้างค่ะ
  • เมื่อมีิะไรเข้าตาเด็กๆ ต้องบอกคุณพ่อคุณแม่ แล้วคุณพ่อคุณแม่จะทำอย่างไรกับเด็กๆค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 14
วันอังคารที่ 5  กุมภาพันธ์ 2556

เนื้อหาสาระจากการเรียนการสอน
  1. สาธิตการสอนเรื่องกระดุม
วันที่ 1
  • ควรจะมีปริศนาคำทายหรือภาพตัดต่อนำเข้าสู่บทเรียน
  • กระดุมที่เด็กๆ  รู้จักมีอะไรบ้าง ( การเขียนแตก map )
  • เด็กๆ ทราบหรือไม่ว่ากระดุมที่ครูนำมามีทั้งหมดกี่เม็ด
  • กระดุมที่ใส่ในซองซิปใสแล้วให้เด็กๆ เทียบกันกับกระดุมที่เตรียมไว้
  • แจกกระดุมให้เด็กๆ ดูแล้วให้นำมาติดที่กระดาน
  • ทายกระดูมที่อยู่ในกล่องแล้วนับ
  • การแยกกระดุม 1 รูใส่ถาด ว่ามีกี่เม็ด
  • กระดุมที่มี 1 รู กับกระดุมที่มากกว่า 1 รูมีทั้งหมดกี่เม็ด
การแยกกระดุมเป็นพื้นฐานของการลบและบวกเลบ

วันที่ 2
  • ส่งกระดุมให้เด็กๆ ดูโดยใส่กระดุมไว้ในถุงซิป
วันที่ 3 
  • ประโยชน์ของกระดุม
วันที่ 4
  • การดูแลรักษากระดุม
  • เลือกกระดุม
  • นับและจับกลุ่มสีของกระดุม
  • นับเลขของกระดุม
  • เด็กๆ จะเก็บกระดุมไว้ที่ไหนจะได้มีไว้ใช้นานๆ
งานที่ได้รับมอบหมาย

ทำ mindmap มาตราฐานคณิตศาสตร์ใส่ลงบล๊อก



วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 13
วันอังคารที่ 29  มกราคม 2556

เนื้อหาสาระจากการเรียน

  1. คุยเรื่องโครงการของนักศึกษาว่ามีอะไรดีมาโชว์โดยมีการจัดการแสดงที่ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์ทุกวันพุธ  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
  • รำ  โดยสว่างจิต
  • ร้องเพลง  โดยรัตติยา
  • โฆษณา โดยนิศาชลและละมัย
  • พิธีกร  โดยปราณิตาและรุ่งนภา
การแสดงโชว์

  • ลิปซิ้งเพลง โดยจุฑามาศและนีรชา
  • เต้นประกอบเพลง  โดยพลอยปภัส  เกตุวดีและมาลินี
  • ละครใบ้  โดยอัจฉราและจันสุดา
  • ละครตลก โดย ณัฐชา  ดาราวรรณและชวนชม
ผู้กำกับหน้าม้า
  •  โดยนฎาและพวงทอง
สามารถนำมาปรับใช้ในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ดังนี้
  1. มาตราฐานที่ 1  
แต่ละฝ่ายมีจำนวนคนที่แสดงหรือร่วมทำกิจกรรม เช่น  รำ  จำวน 1 คน
ร้องเพลง  จำวน 1 คน   โฆษณา จำนวน 2 คน  พิธีกร จำนวน 2 คน การแสดงโชว์ จำนวน 10 คน
ผู้กำกับหน้าม้า จำนวน 2 คน หน้าม้า จำนวน 48 คน  รวมคนทั้งหมดในชั้นปีที่ 3  มี 66 คน

    2.  มาตาฐานที่ 2 
15.00-15.10  น.  รำ      ร้องเพลง    โฆษณา
15.10-15.30  น.   พิธีกร  แสดงโชว์  ลิปซิ้งเพลง  เต้นประกอบเพลง  ละครใบ้   ละครตลก

    3.  มาตรามฐานที่ 3

    4.  มาตาฐานที่  4
แบบรูปการจัดกิจกรรมการแสดง
    
     5.  มาตราฐานที่ 5
รวบรวมข้อมูลและนำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการประเมินเป็นกราฟ  ดูแล้วประเมินผลทางคณิตศาสตร์


บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 12
วันอังคารที่ 2 2 มกราคม 2556
 เนื้อหาสาระจากการเรียน

สาธิตการสอนขนมไทย
วันที่ 1 ชื่อขนมไทย

  • เด็กๆ รู้จักขนมอะไร
  • ลองดูซิว่าภาพนี้เป็นภาพขนมอะไร
  • นำตัวเลขมากำกับจำนวนขนมโดยที่ติดไว้ที่ภาพสุดท้าย

วันที่ 2 ลักษณะรูปร่างของขนมไทย

  • ขนมใส่ถุงเจาะรูให้ดมกลิ่น
  • นับจำนวนทั้งหมด
  • แยกออก
  • เรียงจากซ้ายไปขวา
  • นับใหม่
  • ใส่ตัวเลขกำกับ
  • เด็กๆอยากชิมไหม
  • ครูจะแบ่งขนมออกดป็นครึ่ง  ไม่พอแบ่งออกอีกครึ่งเป็น 4 ส่วน
  • 4 ส่วนให้เด็ก 4 คน 
  • ครูวางเรียงขนมชั้น เม็ดคน สลับกัน 
  • เด็กลองวางตามดูซิค่ะ


สาธิตการสอนเรื่องข้าว
วันที่ 2 ลักษณะข้าว

  • เด็กๆ รู้จักข้าวอะไรบ้าง
  • รู้จักส่วนประกอบ ( ใช้ตาราง)
  • ใส่ข้าวในภาชนะที่ต่างกัน เทใส่ภาชนะที่เท่ากันเพื่อพิสูจน์
  • แล้วเทข้าวกลับมาที่ภาชนะเดิม ( การอนุรักษ์ )
  • ข้าสารเหนียวเทออกใส่ถ้วยได้ 4 ถ้วย  ข้าวสารเจ้าเทออกใส่ถ้วยได้ 3 ถ้วย ( การเปรียบเทียบ )


วันที่ 4 การเก็บรักษา

  • เด็กๆ เคยเห็นว่าข้าวสารเก็บไว้ที่ไหน
  • ทำไมต้องเก็บข้าวไว้
  • เด็กดูภาชนะที่ครูเตรียมมา
  • ครูเอาที่เก็บข้าวมากี่ชนิด
  • แต่ละชนิดมีรูปทรงเรขาคณิตอะไรบ้าง


สาธิตการสอนเรื่องกล้วย
วันที่ 1  ชื่อของกล้วยชนิดต่างๆ

  • เด็กๆ รู้จักกล้วยอะไรบ้าง
  • เด็กทราบไหมว่าในตระกร้ามีกล้วยอะไรอยู่
  • ไหนบอกครูซิว่ามีกล้วยอะไรบ้าง
  • กล้วยอันไหนหยิบขึ้นมาเป็นอันดับที่ 1
  • มีกล้วยเยอะเเยะ หยิบกล้วยมาวางเรียงแล้วนับ
  • กล้วยทั้งหมดที 9 หวี เป็นกล้วยหอม 4 หวี กล้วยน้ำละว้า 3 หวี กล้วยไข่ 2 หวี
วันที่ 2 ลักษณะของกล้วย

  • เมื่อวานเด็กๆ ได้รู้จักกล้วยอะไรบ้าง
  • ครูหยิบกล้วยขึ้นมานับ 1 หวีมีกี่ลูก
  • ใช้เลขกำกับ
  • จานที่มีผ้าปิดมีอะไร องทาย
  • เปิดดูผิวเป็นอย่างไร ลูบผิว ดมกลิ่น
  • เด็กบอกครูเขียน mapper ตามที่เด็กบอก
  • กล้วยน้ำละหว้าข้างนอกเรียกว่าเปลือก ข้างในมีเนื้อสีขาว เด็กอยากชิมไหม
  • ครูแบ่งครึ่งกล้วยให้เด็ก ถ้าไม่พอแบ่ง แบ่งไปอีก 4 ได้ 8 กล้วย 1 ผล เด็กชิมได้ 8 คน 
  • ไส้ของมันมีสีดำ เรียกเมล็ด
  • รสชาดเป็นอย่างไร
  • สรุปด้วยmapper
วันที่ 3 ข้อควรระวัง
  • เล่าเรื่องพ่อำปตัดกล้วย ใช้สอนเรื่องตำแหน่ง ทิศทาง

วันที่ 4 การขยายพันธ์
  • แบ่งกลุ่มใช้กระดาษเป็นรูปมือ
  • แต่ละแปลงห่าง 1 ฝ่ามือ
  • ปลูกเว้นระยะใช้การขยาย
  • แปลงของใครขยายกล้วยได้มากที่สุด

งานที่ได้รับมอบหมาย
แตกmapperเรื่องมาตราฐานคณิตศาสตร์






บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 11
วันอังคารที่ 15  มกราคม 2556
เนื้อหาสาระจากการเรียน

สาธิตการสอนเรื่องขนมไทย

งานที่ได้รับมอบหมาย

เตรียมการสอนสาธิตตามหน่วยที่ได้กำหนดไว้

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 10
วันอังคารที่ 8 มกราคม 2556
เนื้อหาสาระจากการเรียน
มาตราฐาน  คือ  สิ่งที่คนยอมรับได้
กรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยของ สสวท.

  1. จำนวนและการดำเนินการ
  2. การวัด
  3. เรขาคณิต
  4. พีชคณิต
  5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  6. ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ส่งงานดอกไม้จากแกนทิชชู



การนำมาประยุกต์ใช้
  1. สื่อการสอน  คือ  -  แทนค่าด้วยจำนวนตัวเลข           
                                     -   ใช้เกณฑ์ขนาดเท่ากันในการจัดประเภท
                                     -    เชต
                                     -  วางเยื้องกัน
                                     -  สถิต   
    2.  ของเล่น  คือ  -  ร้อยตามขนาด
                                 -  ต่อบล๊อก
                                 -  เรียงเป็นรูปต่าง ๆ
                                 -  เป็นสื่อการวัด
                                 -  ทาบแล้ววาดภาพ  
งานที่ได้รับมอบหมาย

  • เตรียมสาธิตการสอนตามหน่วยแผนการจัดประสบการณ์ที่เขียนไว้



วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 9
วันอังคารที่ 2  มกราคม 2556
ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากหยุดวันนปีใหม่

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่  8
วันอังคารที่ 25 ธันวาคม 2555
ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นการสอบกลางภาคระหว่างวันที่ 20 - 26 ธันวาคม 2555